Haijai.com


โรคกรดไหลย้อน คืออะไร


 
เปิดอ่าน 3827

โรคกรดไหลย้อน คืออะไร

 

 

เมื่อเรารับประทานอาหารทางปาก อาหารก็จะถูกเคี้ยวและกลืนเข้าหลอดอาหาร อาหารจะถูกบีบไล่ไปยังระเพาะอาหาร ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและหลอดอาหารนั้น จะปรากฏว่ามี “หูรูด” ซึ่งทำหน้าที่ ปิด-เปิด มิให้อาหารหรือกรด ไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร เมื่ออาหารอยู่ในกระเพาะ จะมีกรดออกมาจำนวนมาก เมื่ออาหารได้รับการย่อยแล้ว จะถูกการบีบไปยังลำไส้เล็ก ดังนั้น หากมีกรดไหลย้อนไปยังหลอดอาหาร ก็จะมีอาการเจ็บแสบร้อนที่กลางทรวงอก บางครั้งอาจจะรู้สึกว่ามีรสเปรี้ยว

 

 

ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน มักจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ที่เรียกว่าร้อนใน (heart burn) บางครั้ง อาจจะร้าวไปที่คอได้ รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ กลืนน้ำลายลำบาก หรือกลืนอาหารแล้ว เจ็บ แสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า รู้สึกเหมือนมีรสขมๆ ของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวๆ ของกรด มีเสมหะ เรอบ่อย คลื่นไส้จุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายๆ อาหารไม่ย่อย เสียงแหบเรื้อรัง ไอเรื้อรัง และเป็นโรคปอดอักเสบแบบเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย

 

 

หลีกเลี่ยงอาหารแสลง สำหรับผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน เช่น ช็อกโกแลต โกโก้ มะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ พริกไทย มัสตาร์ด  (ในแฮมเบอร์เกอร์) น้ำส้มสายชู ไก่ทอดมันเยิ้ม เบค่อนรมควัน ฯลฯ

 

 

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนนั้น ส่วนมากเกิดมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่ผิดปกติของผู้ป่วยนั่นเอง เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ อ้วน ตั้งครรภ์ อาหารรสจัด (เปรี้ยว เผ็ด) อาหารมันๆ ของทอดที่มีน้ำมันเยิ้ม ช็อกโกแลต โกโก้ มะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ พริกไทย มัสตาร์ด น้ำส้มสายชู เป็นต้น

 

 

การป้องกันการเกิดโรคกรดไหลย้อน

 

 ควรกินอาหารมื้อสุดท้ายอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน คือ ไม่ควรรับประทานอาหารแล้วเข้านอนทันที ควรจะพักสัก 2-3 ชั่วโมง ให้อาหารย่อยเสียก่อน

 

 หากเป็นบ่อยจนมีอาการมากมายรบกวน การใช้ชีวิตประจำวัน ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาการใช้ยาลดกรด

 

 ลด ละ เลิก จากแอลกอฮอล์ อันได้แก่ เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ โดยเฉพาะเบียร์ ทำให้อาการแย่ลงได้มากที่สุด เนื่องจากกระตุ้นกรดได้มากเป็นพิเศษ เพราะในเบียร์มีแก๊ส ทำให้ปริมาณกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น

 

 ลด ละ เลิก จากบุหรี่ และยาเสพติดอื่นๆ

 

 ลด ละ เลิก จากน้ำอัดลม โซดา เนื่องจากมีแก๊สที่ทำให้ กรดในกระเพาะอาหารมีปริมาณเพิ่มขึ้น

 

 ลดอาหารประเภทไขมันสูง เช่น ของทอด ครีม เนย เนื้อสำเร็จรูป (ไส้กรอก เบค่อน ลูกชิ้น)

 

 ไม่รับประทานอาหาร ในแต่ละมื้อให้มากจนเกินไป ให้รับประทานแต่พออิ่มพอดีเท่านั้น เนื่องจากอาหารมื้อใหม่มากๆ มักจะทำให้ปริมาตรของกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นมาก จนทำให้เกิดการหลั่งกรดเพิ่มขึ้นมากตามไปด้วย

 

 หลีกเลี่ยงอาหารแสลง สำหรับผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน เช่น ช็อคโกแลต โกโก้ มะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ พริกไทย มัสตาร์ด (ในแฮมเบอร์เกอร์) น้ำส้มสายชู ไก่ทอดมันเยิ้ม เบค่อนรมควัน ฯลฯ

 

 อย่าดื่มน้ำมากเกินไป เวลารับประทานอาหาร เนื่องจากทำให้เสี่ยงต่อการทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง และทำให้อาหารเอ่อท้นออกมาที่หลอดอาหารได้

 

 อย่าพูดเวลารับประทานอาหาร เนื่องจากทำให้เสี่ยงต่อการกลืนลม (อากาศ) เข้าไปในกระเพาะอาหารมากเกินไป

 

 อย่าสวมเสื้อผ้าคับตัวมากเกินไป อย่ารัดเข็มขัดแน่นมาก เนื่องจากอาจเพิ่มความดันในช่องท้อง จนทำให้กรดไหลย้อนขึ้นได้ง่ายขึ้น

 

 ระมัดระวังอย่าให้อ้วน อย่าให้มีน้ำหนักมากเกินไป เพราะว่ายิ่งอ้วนโรคกรดไหลย้อนนี้ ก็ยิ่งจะมีโอกาสเกิดได้มากขึ้น เป็นเงาตามตัว

 

 อย่างเคี้ยวหมากฝรั่ง ชนิดที่มีน้ำตาลเทียม เช่น ไซลิทอล ซึ่งอาจทำให้ท้องอืดได้ โดยแบคทีเรียในลำไส้ย่อยสลาย จนทำให้เกิดเป็นแก๊สในกระเพาะอาหาร

 

 ไม่ควรอยู่เฉยๆ หลังรับประทานอาหาร ควรเดินหลังมื้ออาหารสัก 5 นาที เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น

 

 

นอนหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยหนุนที่ขาเตียง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะ เพราะทำให้ความดันในช่องท้องสูงเพิ่มมากขึ้น

 

 

การรักษาโรคกรดไหลย้อน

 

 

การรักษาโรคกรดไหลย้อน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่

 

 ลดน้ำหนักจนมีน้ำหนักปกติ เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูง ทำให้กรดไหลย้อนได้มาก

 

 งดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เกิดกรดในกระเพาะมาก

 

 ใส่เสื้อพอดีตัว ไม่แน่นคับจนเกินไป

 

 ไม่ควรยกของหนัก หลังรับประทานอาหาร

 

 งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง

 

 งดอาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่

 

 ไม่รับประทานอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด

 

 รับประทานอาหารแต่พออิ่ม

 

 หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา และสิ่งเสพติด

 

 นอนหัวให้สูง ประมาณ 6-10 นิ้ว โดยหนุนที่ขาเตียง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะ เพราะทำให้ความดันในช่องท้องสูงเพิ่มมากขึ้น

 

 

การรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยการรักษาด้วยยา ได้แก่

 

 Antacids เป็นยาตัวแรกที่ใช้ สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่มาก

 

 ใช้ยา proton pump inhibitor ซึ่งเป็นยาที่ลดกรดได้เป็นอย่างดี อาจจะใช้เวลารักษา 1-3 เดือน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำได้แล้ว ก็อาจจะลดยาลงได้ ยาที่นิยมใช้ ได้แก่ omepra zole, ansoprazole, pantoprazole rabeprazole, และ esomeprazole

 

 หลีกเลี่ยงยาบางชนิด ที่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดมาก หรือทำให้หูรูดหย่อน เช่น ยาแก้ปวด aspirin NSAID VITAMIN C

(Some images used under license from Shutterstock.com.)