Haijai.com


ความหมายของคำบนฉลากอาหาร เมื่ออ่านฉลากอาหาร


 
เปิดอ่าน 5806

เฮลท์ตี้กว่า เมื่ออ่านฉลากอาหารเป็น

 

 

หลายคนสารภาพว่า เมื่อเลือกซื้ออาหารไม่ว่าจะในร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ต ไม่เคยอ่านฉลากอาหารหรือฉลากโภชนาการเลย บ้างก็ว่าอาหารก็เหมือนๆ กันแหล่ะ ถึงอ่านไปก็ซื้ออยู่ดี บ้างก็ตามใจปากกันจนเคยตัว แต่หากได้ลองอ่านดู บางทีคุณอาจจะเปลี่ยนใจและเปลี่ยนพฤติกรรมไปเลย รวมถึงอาจเปลี่ยนสุขภาพของคุณให้เฮลท์ตี้ขึ้นก็ได้

 

 

ความหมายของคำบนฉลากอาหาร เข้าใจตรงกันไหม

 

แม้จะมีฉลากโภชนาการคอยย้ำกับเราเสมอ เรื่องปริมาณสารอาหารต่างๆ ที่เราเลือกซื้อแต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า คำแต่ละคำบนฉลากมีความหมายอย่างไร ควรบริโภคปริมาณเท่าไรและแค่ไหนจะเป็นโทษต่อสุขภาพ ไปดูกันเลย

 

 

 Use by

 

คำว่า “Use By” ใช้กับอาหารสดที่หมดอายุเร็ว เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อ หรือสลัดพร้อมรับประทาน หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่เปิดรับประทานไปแล้ว ควรมองหาฉลากที่จะมีกำกับไว้เสมอว่า หลังรับประทานแล้วจะเก็บได้นานเท่าไร เพราะหากบริโภคเข้าไปหลัง Use By ล่ะก็ คงไม่พ้นอาหารเป็นพิษแน่ๆ เมื่อซื้อมาแล้วต้องอย่าลืมเก็บแช่ในตู้เย็นเพื่อเก็บรักษาอาหารนั้นๆ ให้อยู่ได้นานมากยิ่งขึ้น และหากเป็นอาหารแพ็คพร้อมรับประทานที่แช่แข็งไว้ หลังละลายน้ำแข็งแล้วต้องรับประทานภายใน 24 ชั่วโมง

 

 

 Best Before

 

ส่วนใหญ่คำๆนี้จะปรากฏอยู่ในฉลากอาหารประเภทแช่แข็ง อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง และอื่นๆ อีกข้อแตกต่างระหว่าง Best Before และ Use By คือ “Best Before” มีความหมายในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัย นั่นหมายความว่า แม้ระยะเวลาที่กำหนดใน Best Before จะผ่านเลยไปแล้วก็ไม่ได้แปลว่าจะหมดอายุหรือจะเป็นอันตราย แต่หมายถึงจะทำให้อาหารเสียรสชาติและมีคุณภาพที่เปลี่ยนไป

 

 

อย่างไรก็ตาม “ไข่” เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่สามารถรับประทานได้แม้หลังระยะเวลาของ Best Befor ผ่านพ้นไปแล้ว ตราบใดที่ไข่ขาวและไข่แดงนั้นสุก การทำให้สุกเป็นการฆ่าแบคทีเรียซาลโมเนลลา (Salmonella)

 

 

 Low fat

 

โลว์ แฟต หรือไม่โลว์ แฟต วัดจากอะไร หากผลิตภัณฑ์นั้นกำกับไว้ว่า Low Fat เมื่อไรล่ะก็ ต้องมีไขมันไม่เกิน 3 กรัม ต่อ 100 กรัม สำหรับอาหารเหลว และ 1.5 กรัม ต่อ 100 กรัม สำหรับอาหารแข็ง หรือ 1.8 กรัม ต่อ 100 กรัม สำหรับนมกึ่งพร่องมันเนย

 

 

No ADDED SUGAR & UNSWEETENED

 

ไม่ว่าจะน้ำตาลหรือสารให้ความหวานก็เป็นหนึ่งในส่วนผสม เพื่อให้รสชาติอาหารเหมือนกัน ซึ่งไม่ได้แปลว่าอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น จะไม่มีน้ำตาลเลย “No Added Sugar” และ “Unsweetened” เป็นเพียงการบอกถึงวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ รวมถึงชนิดของน้ำตาลและสารให้ความหวานเท่านั้น

 

 

 No added sugar

 

ในที่นี้จะหมายถึงไม่นำน้ำตาลเป็นส่วนผสมเพิ่มเติม เนื่องจากอาหารดังกล่าวยังคงมีรสหวานและมีน้ำตาลอยู่บ้างแล้ว น้ำตาลจากธรรมชาติเราสามารถหาได้จากผลไม้และนม ซึ่งโดยมากเขาจะไม่ตัดรสหวานธรรมชาตินี้ออกไป ซึ่งอาหารที่ไม่เติมน้ำตาลก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีปริมาณน้ำตาลต่ำ เนื่องจากในอาหารอาจมีปริมาณน้ำตาลสูงตามธรรมชาติ เช่น ผลไม้ หรือนมที่มีแลคโตส

 

 

 Unsweetened

 

เช่นเดียวกันกับคำว่า No Added Sugar ด้วยการไม่ใส่สารให้ความหวานเพิ่มเติม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอาหารชนิดนั้นจะไม่มีน้ำตาลธรรมชาติอยู่

 

 

 Energy

 

พลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน เรียกว่า “แคลอรี” มีหน่วยเป็นกิโลจูลและกิโลแคลอรี ซึ่งผู้ชายต้องการพลังงานต่อวันประมาณ 10,500 กิโลจูล (2,500 กิโลแคลอรี) สำหรับผู้หญิงต้องการพลังงานต่อวันประมาณ 8,400 กิโลจูล (2,000 กิโลแคลอรี)

 

 

ตัวเลขแบบไหนเริ่ดต่อสุขภาพ

 

 Total fat (ไขมัน)

 

สูง : มากกว่า 17.5 กรัม ต่อไขมัน 100 กรัม

 

ต่ำ : น้อยกว่า 3 กรัม ต่อไขมัน 100 กรัม

 

 

 Saturated fat (ไขมันอิ่มตัว)

 

สูง : มากกว่า 5 กรัม ต่อปริมาณไขมันอิ่มตัว 100 กรัม

 

ต่ำ : 1.5 กรัม หรือน้อยกว่าปริมาณไขมันอิ่มตัว ต่อ 100 กรัม

 

 

 Sugars (น้ำตาล)

 

สูง : มากกว่า 22.5 กรัม ของปริมาณน้ำตาลทั้งหมด 100 กรัม

 

ต่ำ : 5 กรัม หรือน้อยกว่า ต่อปริมาณน้ำตาลทั้งหมด 100 กรัม

 

 

 Salt (เกลือและโซเดียม)

 

สูง : มากกว่า 1.5 กรัม ต่อปริมาณเกลือ 100 กรัม (หรือ 0.6 กรัม ของปริมาณโซเดียม)

 

ต่ำ : 0.3 กรัม หรือน้อยกว่า ต่อปริมาณเกลือ 100 กรัม (หรือ 0.1 กรัม ของปริมาณโซเดียม)

 

 

ยกตัวอย่างง่ายๆ หากต้องการลดปริมาณไขมันอิ่มตัวลง ให้ลดปริมาณการทานลงให้ได้น้อยกว่า 5 กรัม ต่อไขมันอิ่มตัว 100 กรัม และอย่าลืมอ่านฉลากโภชนาการทุกครั้งก่อนซื้อนะคะ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)